วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ผู้บริหาร และพนักงานศูนย์หลักประกัน แสดงความยินดี ที่ปรึกษาสหภาพ ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการปฏิรูปกฏหมาย

 ผู้ บริหาร และพนักงานศูนย์หลักประกันและจดจำนอง พลับพลาไชย นำโดย SVP วุฒิชัย ชลิตานนท์ ผู้จัดการศูนย์หลักประกันและจดจำนอง และคณะร่วมแสดงความยินดีกับนายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษาสหภาพที่ได้รับการสรรหา เป็นกรรมการปฏิรูปกฏหมายในคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย   ซึ่งจะได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งต่อไป 


วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

คลอดแล้ว 11 กก.ปฏิรูป กม. " คณิต สุนี สมชาย ไพโรจน์ " ได้รับเลือก " ชัยสิทธิ์ " ที่ปรึกษา สร.ธก ติดกลุ่มด้วย ด้านคนดังวืด

เมื่อวันที่ 6 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจาก นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ประธานกรรมการสรรหากรรมการปฏิรูปกฎหมาย และนายวิทยา สุริยะวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ร่วมกันแถลงการสรรหากรรมการปฏิรูปกฎหมายและการรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการ คัดเลือกเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมายจนถึงวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมานั้น ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ให้มีหน้าที่ในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้กฎหมายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งกระบวนการปฏิรูปกฎหมายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจึงต้องมีองค์กรขึ้น มาทำหน้าที่เป็นการเฉพาะ เพื่อให้ตัวกฎหมายได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยอยู่เสมอนั้น

รายงานข่าวแจ้งว่า หลังมีการประกาศเชิญชวนให้ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เข้ามาสมัครรับการคัดเลือกแล้ว ในที่สุดคณะกรรมการสรรหากรรมการปฏิรูปกฎหมายมีการประชุมพิจารณารายชื่อผู้ สมัครซึ่งมีจำนวน 234 คน เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554 และคัดเลือกกรรมการปฏิรูปกฎหมายจำนวน 11 คน ซึ่งมี 2 ประเภทคือกรรมการเต็มเวลา และกรรมการไม่เต็มเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือก กรรมการประเภทเต็มเวลา จำนวน 6 คน ได้แก่ 1. นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด 2.นางสุนี ไชยรส 3.นายสมชาย หอมละออ 4. นางเสาวณีย์ อัศวโรจน์ 5. นายไพโรจน์ พงศ์เพชร และ 6.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ

รายงานข่าวแจ้งว่า ส่วนกรรมการประเภท ไม่เต็มเวลา จำนวน 5 คน ได้แก่ 1. นายบรรเจิด สิงคะเนติ 2.นายกำชัย จงจักรพันธ์ 3.รศ.วิระดา สมสวัสดิ์ 4.นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ และ 5.นายชัยสิทธิ์ สุขสมบูรณ์ สำหรับ ขั้นตอนหลังจากนี้ คือการตรวจสอบคุณสมบัติ และการนัดประชุมร่วมกันของผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อเลือกประธานและรอง ประธาน จากนั้นจะได้มีการนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป

"ซึ่งการคัดเลือกกรรมการดังกล่าวข้างต้น มุ่งเน้นผู้มีประสบการณ์ด้านการพัฒนากฎหมายที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ใน ระดับชาติ ในสาขาต่างๆ โดยคำนึงถึงความหลากหลาย สัดส่วนระหว่างหญิงชาย โดยคณะกรรมการคัดเลือกได้พยายามให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายชุดแรกในประวัติ ศาสตร์ของประเทศไทย ได้ทำหน้าที่สมดังเจตนารมณ์ของการก่อตั้งองค์กรต่อไป และจะดำเนินการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง" รายงานข่าวระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบุคคลที่มีชื่อเสียงลงชื่อสมัครแต่ไม่ได้รับการคัดเลือกครั้งนี้ อาทิ นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณนายอุดม เฟื่องฟุ้ง นายมนูญ จรูญพร นายไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล นายยืนหยัด ใจสมุทร นายสุรสีห์ โกศลนาวิน ร.ต.วิจิตร อยู่สุภาพ พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ ว่าที่ พ.ต.สมบัติ วงศ์กำแหง พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเวโช เป็นต้น

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนะนำความรู้ด้านแรงงานสัมพันธ์แก่สมาชิก

คณะตัวแทนสหภาพ กำลังแนะนำความรู้ด้านแรงงานสัมพันธ์ให้แก่พนักงานภายในสาขา

ผู้จัดการสาขาด่านขุนทด มอบดอกไม้ต้อนรับกรรมการสหภาพ

ในการออกเยี่ยมสมาชิกของสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ หรือสหภาพสัญจร ปี2554 ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากสาขาต่าง ๆ ที่ทำการเดินสาย ซึ่งในสาขาด่านขุนทดนี้ ผู้จัดการสาขาำได้มอบดอกไม้ต้อนรับผู้แทนสหภาพ ทำให้บรรยากาศภายในสาขาเปี่ยมไปด้วยรอย ยิ้ม และความอบอุ่น ผู้แทนสหภาำพมีขวัญ และกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติการเดินสายเยี่ยมสมาชิกต่อไป   

ผู้จัดการสาขา 2 วันแรก ส่วนใหญ่ต้อนรับอย่างดี มีเพียง1 สาขาแย่สุด

                      ตามที่ผู้แทนสหภาพออกเดินสายเยี่ยมสมาชิก 2 วันที่ผ่านมาไดรับการต้อนรับจากผู้จัดการสาขาในภาคอีสาน 1 เกือบทุกสาขาเป็นอย่างดี มีเพียงสาขาเดียวเท่านั้นคือสาขาจอมสุรางค์ ผู้จัดการสาขาเป็นผู้หญิง ไม่ยินดีกับการต้อนรับผู้แทนสหภาพ แสดงท่าทีขัดขวางไม่ให้ผู้แทนสหภาพพบพนักงานที่เคาวน์เตอร์ อันส่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมการขัดขวางการสร้างแรงงานสัมพันธ์ ระหว่างผู้แทนสหภาพ กับพนักงานในสาขาอย่างชัดเจน ผู้แทนสหภาพที่ไปเยี่ยมสมาชิกสาขา ได้รายงานให้ประธานสหภาพได้ทราบพฤติกรรมการขัดขวางการทำงานของสหภาพจากผู้ จัดการรายนี้ ประธานสหภาพจึงแจ้งให้ผู้จัดการภาค อดิศร และ SVP อรรณพ นามเทียร ว่าเหตุใดยังมีผู้จัดการสาขาแสดงพฤติกรรมไม่ให้การต้อนรับพนักงานด้วยกันจึง ไม่น่าเกิดขึ้นกับธนาคารกรุงเทพใน พ.ศ. นี้ และสหภาพได้มีหนังสือบอกกล่าว กับท่านทั้งสองล่วงหน้าแล้วว่าสหภาพจะเดินสายไปเยี่ยมสาขาในสังกัดของท่าน ท่านSVP อรรณพ ก็รับปากว่าจะเตือนสติผู้จัดการสาขาที่ยังไม่ได้ทราบหนังสือขอความร่วมมือ จากสหภาพต่อไป
                  ผู้แทนสหภาพที่ไปเยี่ยมได้แสดงสรุปประเมินผลอย่างไม่เป็นทางการให้ประธาน สหภาพได้ทราบว่า สาขาจอมสุรางค์สอบไม่ผ่านด้านแรงงานสัมพันธ์จะต้องส่งผู้จัดการสาขารายนี้ เข้าอบรมหลักสูตรแรงงานสัมพันธ์เบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อจะพัฒนาด้านมนุษยสัมพันธ์ กับเพื่อนร่วมงานต่อไป

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทำไมคนไทยขัดแย้งกันเอง เหมือนไก่ในเข่งจิกตีกันตาย



ข่าวสารบ้านเมืองเวลานี้ คนขี้รำคาญก็จะตอบว่าน่าเบื่อหน่ายมีแต่ข่าวความขัดแย้ง ระหว่าง
คนไทยกับคนไทยด้วยกัน ส่วนคนที่กระตือรือล้นก็พยายามวิเคราะห์สังเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับความขัดแย้งของคนในสังคม จากข่าวสารบ้านเมือง จนพบสาเหตุความขัดแย้งของคนไทยน่าจะมาจาก ประเทศไทยมีวิกฤตทุก ๆ  ทางได้แก่
                ทางเศรษฐกิจ ยิ่งพัฒนาช่องว่างคนจนกับคนรวยยิ่งห่างกันมากขึ้น และมากเกินไปทำให้เกิดความเลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ  รวมทั้งความขัดแย้งทางการเมือง
                ทางสังคม คนอยากคนจนเข้าไม่ถึงการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม รวมทั้งเข้าไม่ถึงความยุติธรรมภาครัฐ สะสมความแค้นไว้มากขึ้น เป็นระเบิดเวลาทางสังคม
                ทางสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ รัฐไม่สามารถจัดการ การใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ยั่งยืน ทำให้เกิดความร่อยหรอสูญเสีย และระส่ำระสาย ดังที่สูญเสียป่าไม้ไปมากเกินจนธรรมชาติเสียสมดุล หน้าแล้งก็ขาดแคลนน้ำ หน้าฝนก็น้ำท่วม ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และงบประมาณอย่ามหาศาลมากขึ้น ๆ  ทุกที เกษตรกรผู้ผลิตไม่มีที่ดินทำกิน ถูกขับไล่ออกจากที่ดินของตนเองเพราะกฏหมาย และการใช้กฏหมายไม่เป็นธรรม เกิดความทุกข์ ยากแสนสาหัส
                ทางการเมือง เกิดความขัดแย้ง แตกแยก และรุนแรง
                ทางระบบอำนาจรัฐ ทั้งการเมือง และราชการขาดสมรรถนะจะเข้าใจ และบริหารจัดการประเทศที่มีความซับซ้อน และยาก นอกจากนั้นยังขาดความสุจริต เกิดการคอรับชั่นแทรกซึมไปทั่งระบบประดุจเป็นมะเร็ง
                รัฐประหารก็แก้ปัญหาไม่ได้ เมื่อบ้านเมืองติดขัดก็แก้ปัญหาด้วยการทำรัฐประหาร ซึ่งทำมาหลายครั้ง ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ทำให้ช่วงก่อนศตวรรษที่ผ่านมา เรามีรัฐธรรมนูญถึง 18 ฉบับ ในขณะที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ตั้งประเทศมา มีรัฐธรรมนูญฉบับเดียว             
                ทั้งหมดทำให้ประเทศไทยไม่สามารถรักษาบูรณภาพ และดุลยภาพของประเทศไทยไว้ได้
หมิ่นเหม่ต่อการเกิดความล่มสลาย และมิคสัญญีกลียุค ประเทศกำลังป่วนหนัก
                การแก้ไขปัญหาของประเทศที่ป่วยหนักดังกล่าวข้างต้น ต้องแก้ไขที่สาเหตุของโรค การแก้ปัญหาตามอาการของโรคซึ่งอาจบำบัดได้บ้าง แต่สาเหตุของโรคยังอยู่ อาการจึงกลับกำเริบหนักขึ้นเรื่อย ๆ  จนวิกฤตดังกล่าว อะไรคือสาเหตุ ?
                สิ่งต่าง ๆ  มีโครงสร้างกำหนดคุณสมบัติ เช่นต้นไม้ สุนัข แมว ม้า ช้าง ล้วนมีโครงสร้างที่กำหนดไม่ให้เป็นอย่าอื่น สังคมก็มีโครงสร้าง ถ้าโครงสร้างสังคมเป็นธรรม สังคมก็เป็นธรรม ถ้าโครงสร้างสังคมไม่เป็นธรรม สังคมก็ไม่เป็นธรรม ถึงทำอย่างไรก็ไม่เป็นธรรมถ้าไม่แก้ไขโครงสร้าง
                จริงอยู่ตัวบุคคลมีความสำคัญ ไม่ใช่ไม่สำคัญ แต่ตราบใดที่โครงสร้างอันไม่เป็นธรรมยังดำรงอยู่ ความไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  ตราบใดที่ยังคิดแก้ไขปัญหากันเฉพาะตัวบุคคล ก็เหมือนรักษาโรคตามอาการ นำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง จิกตี ฆ่ากันตาย เหมือน ไก่อยู่ในเข่ง
         


เข่งคือโครงสร้าง ถึงไก่จะจิกตีกันจนตายอย่างไรก็ออกจากเข่งไม่ได้ เพราะเข่งเป็นโครงสร้างที่แน่นหนามาก คนไทยไม่ควรทำตัวเหมือนไก่อยู่ในเข่ง ไม่ควรจิกตีกันจนตายเหมือนไก่
                คนไทยจะไม่เหมือนไก่ในเข่ง ก็ต่อเมื่อทำความเข้าใจว่า เข่ง หรือโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมที่กักขังเราทุกคนไว้คืออะไร และรวมตัวกันออกจากเข่ง หรือแก้ไขโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม การแก้ไขปรับโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม ให้เป็นธรรม คือการแก้ไขที่สาเหตุของวิกฤตทุกทาง

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

ข้อตกลงร่วม ปี2554


ข้อตกลงร่วม
ระหว่าง
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  
กับ
สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ
ทำขึ้นตั้งแต่วันที่  16 สิงหาคม 2553   ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554

ข้อตกลงร่วมฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง  ธนาคารกรุงเทพ  จำกัด (มหาชน)  สำนักงานใหญ่  ตั้งอยู่ที่เลขที่  333  ถนนสีลม  แขวงสีลม  เขตบางรัก  จังหวัดกรุงเทพมหานคร  ฝ่ายหนึ่ง  กับ  สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ  ตั้งอยู่ที่เลขที่ 9  ถนนเสือป่า  แขวงเทพศิรินทร์  เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย  จังหวัดกรุงเทพมหานคร  อีกฝ่ายหนึ่ง

ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการเจรจากันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518  สามารถตกลงกันได้ในแต่ละข้อ ทำให้ข้อเรียกร้องยุติ และมีผล ดังนี้

                ข้อ 1       ธนาคารได้จ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษแล้ว  ข้อเรียกร้องข้อ 1 จึงเป็นอันยุติ

ข้อ 2       ธนาคาร ตกลงประกาศปรับเงินเดือนเพิ่มให้แก่พนักงานคนละ 1,500.00 บาท ทั้งนี้ยกเว้นเจ้าหน้าที่ชั้นบริหารโดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ข้อเรียกร้องข้อ 2 จึงเป็นอันยุติ

ข้อ 3       ธนาคารตกลงปรับปรุงสวัสดิการเงินกู้ซื้อบ้านและที่ดินของพนักงาน ดังนี้
วงเงินกู้ไม่เกิน 1,000,000 บาท                         อัตราดอกเบี้ย                        Fix 12 เดือน + 0.25%
วงเงินกู้ 1,000,001 – 2,000,000 บาท               อัตราดอกเบี้ย                        Fix 12 เดือน + 1.25%
วงเงินกู้ 2,000,001 บาทขึ้นไป                          อัตราดอกเบี้ย                        MLR – (0.75%)
สำหรับหลักเกณฑ์ตามคำสั่งระเบียบงานที่ 15/2540 ข้อ 2.1 ว่า “1.การกู้เงินเพื่อซื้อที่ดินไม่เกิน 200 ตาราง วา และ/หรือ บ้านหรือปลูกสร้างบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้เฉพาะผู้ที่ยังไม่มีที่ดินหรือบ้านเป็นของตนเองรวมถึงการกู้เงินที่ ธนาคารพิจารณาให้กู้ได้เป็นครั้งที่ 2 ในกรณีถูกเวนคืน หรือไฟไหม้ หรือเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเสียหายจนไม่อาจซ่อมแซมได้” นั้น
หาก มีกรณีอื่นๆ ที่พนักงานยื่นขอกู้โดยอ้างคำสั่งระเบียบงานดังกล่าวก็สามารถให้พิจารณา เทียบเคียงกับหลักเกณฑ์ข้างต้นในการเสนอขออนุมัติเป็นกรณีๆไป
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554

ข้อ 4        ใน กรณีที่ธนาคารให้พนักงานทำงานที่มีขอบเขตความรับผิดชอบกว้างขวางกว่าเดิม ธนาคารตกลงปรับปรุงค่างานให้สูงขึ้นกว่าเดิม หากค่างานที่ปรับสูงกว่าระดับชั้นยศ ก็ให้ปรับระดับชั้นยศด้วย และจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงานอย่างยุติธรรม รวมทั้งสิทธิและผลประโยชน์ที่เคยได้รับต้องไม่ด้อยกว่าเดิม ทั้งนี้โดยให้นับอายุงานของค่างานเดิมต่อเนื่องด้วย

ในระหว่างที่ธนาคารกำลังจัดทำตำแหน่งงานมาตรฐาน (Job Standard) ของพนักงานในระบบงานใหม่ให้เป็นปัจจุบัน  หากพนักงานปฏิบัติงานบกพร่องผิดพลาดจากการได้รับคำสั่งจากหัวหน้างาน  การ พิจารณาโทษที่ไม่ใช่กรณีทุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ผู้มีอำนาจในการพิจารณาในระดับต่าง ๆ และคณะกรรมการพิจารณาวินัยและอุทธรณ์ นำตำแหน่งงานมาตรฐาน (Job Standard) ตาม ตำแหน่งของพนักงานผู้นั้น รวมทั้งกฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคาร และข้อเท็จจริง พฤติการณ์ สภาพแวดล้อม ของการทำงานที่เกิดเหตุบกพร่องผิดพลาดนั้น มาประกอบการพิจารณาโทษทางวินัยและชดใช้เป็นกรณีพิเศษด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาโทษทางวินัยเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นธรรมแก่ พนักงาน
กรณีที่เกิดความเสียหาย หากผู้บังคับบัญชาสั่งการถูกต้องตามระเบียบคำสั่งธนาคาร  ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นไม่ต้องรับผิดชอบ

ข้อ 5        ตามข้อตกลงร่วมกับสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ปี 2524 ข้อ 1.1.1 (ง) สหภาพอาจสื่อสารถึงสมาชิก โดยผ่านวารสารพนักงานสัมพันธ์ของธนาคารได้ ทั้งนี้โดยต้องได้รับการพิจารณาจากบรรณาธิการก่อนนั้น เนื่องจากวารสารพนักงานสัมพันธ์ของธนาคารได้ยกเลิกไปแล้ว  ธนาคาร จึงตกลงให้การส่งเสริมความรู้ด้านแรงงานสัมพันธ์และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ แก่พนักงาน โดยสหภาพอาจสื่อสารความรู้และข่าวสารดังกล่าวถึงสมาชิก ผ่านหนังสือ “ข่าวสารของเรา” ของธนาคารได้ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการพิจารณาจากธนาคาร หรือ ผู้ที่ธนาคารมอบหมายก่อน  

ข้อ 6        ให้ หน่วยงาน/สาขา ตั้งงบประมาณ ค่าล่วงเวลา/ค่าทำงานในวันหยุด/ค่าล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อการตั้งงบประมาณประจำ ปี สำหรับงานที่ต้องทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ 
ในกรณีที่หน่วยงาน/สาขา มีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานล่วงเวลาเป็นกรณีพิเศษ ให้หน่วยงาน/สาขา ดำเนินการของบประมาณเป็นกรณีไป

ข้อ 7        กรณี ที่แพทย์สั่งยาที่ไม่มีในหน่วยงานบริการสุขภาพ และสามารถซื้อยาดังกล่าวได้จากร้านค้าทั่วไป หรือให้นำใบสั่งยาไปรับจากร้านค้าที่มีข้อตกลงกับธนาคาร (ยกเว้น ยาควบคุมที่ต้องซื้อจากโรงพยาบาล) แต่พนักงานไม่สะดวกในการไปซื้อ/รับยาด้วยตนเอง ธนาคารตกลงให้หน่วยงานบริการสุขภาพประสานงานให้ร้านค้ายาที่มีข้อตกลง จัดส่งยาที่หน่วยงานบริการสุขภาพ (ทั้งนี้ ไม่รวมถึงพนักงานที่เกษียณ อายุจากธนาคารไปแล้ว)

ข้อ 8        ธนาคารตกลงดำเนินการตามข้อตกลงร่วม กับ สหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ ข้อ 2 ปี 2552 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2554

ข้อ 9     เนื่องจากข้อตกลงร่วมระหว่างสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ และธนาคาร  ข้อ 8 ที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อ ปี 2550  ยังมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554  ข้อเรียกร้องข้อ 9 จึงเป็นอันยุติ



ข้อ 10   การทำงานในวันหยุดตามประเพณีตามที่ระบุในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคาร ได้แก่
(1)    วันขึ้นปีใหม่                 (8)  วันหยุดครึ่งปีธนาคาร                                
(2)    วันมาฆบูชา                  (9)  วันอาสาฬหบูชา(เดิมข้อบังคับระบุเป็นวันเข้าพรรษา)
(3)    วันจักรี                           (10) วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบรมราชินีนาถ     
(4)    วันสงกรานต์                (11) วันปิยะมหาราช
(5)    วันแรงงานแห่งชาติ   (12) วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   
(6)    วันฉัตรมงคล                (13) วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
(7)    วันวิสาขบูชา                (14) วันสิ้นปี                                                       
ธนาคารตกลงจ่ายเงินตอบแทนพิเศษสำหรับการทำงานในวันหยุดดังกล่าว วันละ100.00 บาท   ยกเว้นพนักงานที่ได้รับค่า Shift Premium
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554

ข้อ 11   เนื่องจากธนาคารได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขคำสั่งระเบียบงานแล้ว ข้อเรียกร้องข้อ 11 จึงเป็นอันยุติ  

ข้อ 12    เนื่อง จากกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บัญญัติให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง และปัจจุบันธนาคารได้จ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 5.5 ของเงินเดือนพนักงาน ซึ่งไม่ต่ำกว่าอัตราเงินสะสมของพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามคำชี้ขาดของผู้ชี้ขาด เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 ข้อเรียกร้องข้อ 12 จึงเป็นอันยุติ

ข้อ 13     เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่งเสริมภาพลักษณ์ของธนาคาร พนักงานชายยินดีให้ความร่วมมือสวมเสื้อเชิ้ตสีสุภาพ
  สำหรับ กรณีที่ธนาคารได้ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรกับผู้บังคับบัญชาที่ได้บังคับ ให้พนักงานชายสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวในวันที่ไม่ได้กำหนดแล้ว ข้อเรียกร้องข้อ 13 เป็นอันยุติ

ข้อ 14     ธนาคาร ตกลงพิจารณาขึ้นเงินเดือนให้พนักงานที่จะเกษียณอายุในปี 2554 อย่างน้อยในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับพนักงานที่มีผลงานที่อยู่ในเกณฑ์สมควรได้ขึ้นเงินเดือนตามปกติ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินบำเหน็จและค่าชดเชย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตามคำชี้ขาดของผู้ชี้ขาด เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 ข้อเรียกร้องข้อ 14 จึงเป็นอันยุติ

ข้อ 15     ใน กรณีที่พนักงานได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ หรือไปช่วยปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราว ในระยะทางไม่ถึง 20 กิโลเมตร และธนาคารไม่สามารถจัดยานพาหนะให้ได้ ให้หน่วยงาน/สาขา สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามความเป็นจริง
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2554



ข้อ 16     ธนาคารตกลงปรับปรุงคำสั่งผู้จัดการใหญ่ ที่ 1/2551 ข้อ 1.3 และข้อ 3.3 ดังนี้
ข้อ 1.3  พนักงาน และผู้บริหารผู้มีสิทธิเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้ คือ พนักงานและผู้บริหารซึ่งเดิมได้รับการบรรจุเป็นพนักงานและปฏิบัติหน้าที่ ประจำ แห่งแรกในจังหวัดหนึ่ง แต่ภายหลังมีคำสั่งย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ประจำในจังหวัดอื่น รวมทั้งการย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม แต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและไม่มีบ้านเป็นของตนเอง เว้นแต่กรณีมีที่อยู่อาศัยของสามี/ภริยา อยู่ในท้องที่ ที่สถานทำงานนั้นตั้งอยู่
ข้อ 3.3  จาก “เจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษลงมา” เป็น “ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษลงมา”

                ทั้งนี้  ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า  คำสั่งระเบียบงาน  ข้อบังคับการทำงาน  ประกาศ และคำสั่งต่าง ๆ ที่ให้สิทธิประโยชน์แก่พนักงาน ข้อตกลงร่วมที่มีอยู่ก่อนฉบับนี้ทุกฉบับเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อ ตกลงร่วมฉบับนี้ให้คงมีผลใช้บังคับต่อไป  และธนาคารมีสิทธิที่จะปรับปรุงแก้ไข หรือเพิ่มเติมคำสั่งระเบียบงาน  ข้อบังคับการทำงาน  ประกาศ  และคำสั่งต่าง ๆ ได้  แต่ต้องไม่ขัด หรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิม

ข้อตกลงข้อใดที่กำหนดวันเริ่มใช้บังคับไว้ให้เป็นไปตามนั้น  ข้อตกลงที่มิได้กำหนดวันเริ่มใช้บังคับไว้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่  10 กันยายน 2553   เป็นต้นไป


กมธ.วิฯเร่งแก้ร่าง กม. ประกันสังคม ก่อนยุบสภา สปส. ไม่พร้อมมีอิสระ และโปร่งใส คสรท. นัดแรงงานเคลื่อนไหวแสดงจุดยืน 5 ประเด็น


สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพ.ร.บ. ประกันสังคม(กมธ.วิฯ)ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร แต่งตั้งจำนวน 36คน ซึ่ง มีผู้แทนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) 2คนได้แก่
น.ส. วิไลวรรณ  แซ่เตีย และนายชัยสิทธิ์  สุขสมบูรณ์ รองประธาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรธ.) ได้ประชุมไปแล้ว 6 ครั้ง คสรท.เห็นท่าทีของ กมธ.วิฯ แล้วกังวล การพิจารณาอย่างรวดเร็ว และรวบรัด รัฐบาลต้องการให้กฏหมายนี้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรก่อนยุบสภา เนื่องจากเป็นนโยบายที่รัฐบาลหาเสียงไว้ล่วงหน้า  ร่าง กม.ประกันสังคมฉบับ ครม. ไม่แตะเรื่องการบริหารเป็นองค์กรอิสระโปร่งใส และตรวจสอบได้ อ้าง สปส.ไม่พร้อม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.)นัดเครือข่ายแรงงานเคลื่อนไหวแสดงจุดยืนปฏิรูปประกันสังคม 6 ประเด็น
                นายชาลี  ลอยสูง ประธาน คสรท. เปิดเผยว่า พวกเราได้มีการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ติดตามการทำงานของ กมธ.วิฯทั้ง 2 คน และที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานที่เข้าประชุมร่วมกับ กมธ.วิฯ ที่สภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 และครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 รวม กมธ .วิฯได้ประชุมไปแล้ว 6 ครั้ง
                พวกเราได้ประเมินสถานการณ์ในการประชุม และท่าทีของกมธ.วิแล้ว สรุปได้ ดังนี้ 1) กมธ.วิฯบางส่วนมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรู้ และความเข้าใจด้านลึกเกี่ยวกับระบบประกันสังคม จึงฟังข้อเสนอของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจาก ส.ป.ส. และสนง.กฤษฎีกาเป็นหลัก  2) กระบวนการของกมธ.วิฯ บ่งชี้ว่าไม่เป็นไปตามหลักการที่รัฐบาลแถลงไว้ การพิจารณาร่าง กม. ประกันสังคมฉบับรัฐบาล (ครม.) รายมาตรา ไม่ใช่สาระสำคัญของการปฏิรูประบบประกันสังคมตามที่ คสรท. เสนอ 6ประเด็น รวมทั้งแนวทางการปฏิรูป ระบบประกันสังคมที่นายกรัฐมนตรี เคยรับข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นไว้แล้ว 3) กมธ.วิ ได้พิจารณาร่างกฏหมายประกันสังคมใช้ร่างรัฐบาลเป็นหลัก ร่างของ ส.ส. ยังไม่พิจารณา ขณะนี้พิจารณาไปแล้ว 25 มาตราจากทั้งหมด 46 มาตรา จึงเป็นที่น่าสังเกตุว่า ร่างกฏหมายฉบับนี้ได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว และรวบรัด เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้ผ่านก่อนยุบสภาผู้แทนราษฎร และเป็นนโยบายที่รัฐบาลหาเสียงล่วงหน้าไปแล้ว
                ด้าน น.ส.วิไลวรรณ  แซ่เตีย รองประธาน คสรท. และกมธ.วิฯ กล่าวถึง 6 ประเด็นที่ผู้ใช้แรงงานร่วมกันผลักดันเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขกฏหมายครั้งนี้ได้แก่1)ให้สปส.เป็นองค์กรอิสระ
2)กระบวนการตรวจสอบที่โปร่งใส 3)การใช้บัตรผู้ประกันตนได้ทุกโรงพยาบาล4)การเลือกตั้งคณะกรรมการจากผู้ประกันตนโดยตรงให้ผู้ประกันตน 1คน มีสิทธิ์เลือกได้ 1 เสียง 5)ประกันสังคมถ้วนหน้าเพื่อคนทำงานทุกคน และ 6)แรงงานนอกระบบ รัฐต้องจ่ายเงินสมทบให้กึ่งหนึ่ง ไม่ใช่ผู้ประกันตนต้องจ่ายฝ่ายเดียว




                จากการพูดคุยกันใน กมธ.วิฯ จะเห็นว่าหลายคนยังขาดความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้แรงงานจึงอยากเรียกร้องให้กมธ.วิ พิจารณาประเด็นของผู้ใช้แรงงานเข้าไปอยู่ในมาตราต่าง ๆ  ที่เชื่อมร้อยกันได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนยุบสภา เพราะ พ.ร.บ. นี้ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของรัฐบาล หากท่านสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจของคนงานได้ ท่านก็จะได้คะแนนเสียงส่วนนี้ด้วย
                ส่วนนายชัยสิทธิ์  สุขสมบูรณ์ รองประธานคสรธ. และกมธ.วิฯ อีกคนหนึ่งกล่าวว่า ร่างกฏหมายประกันสังคมฉบับคณะรัฐมนตรี(ครม.)ยังหมกเม็ด เปิดโอกาสโล่งให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาได้ เราเห็นการใช้อำนาจรัฐผูกขาดการจำกัดสิทธิของลูกจ้างในส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ มีแต่เพิ่มความเหลื่อมล้ำ และไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างในระบบประกันสังคมกับระบบสวัสดิการอื่นที่รัฐจัดสรรงบประมาณสนับสนุน และการเข้าถึงระบบประกันสังคมอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมาตราที่ไม่เพิ่มอำนาจให้ผู้บริหาร สปส. ที่สำคัญร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมของ ครม. ไม่มีเรื่องการตรวจสอบ แถมยังตัดเรื่องการที่จะให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วมเข้าไปตรวจสอบบอร์ด
                กมธ. วิฯ ผู้นี้  กล่าวอีกว่าเมื่อที่ประชุมสอบถามเลขา กมธ .วิว่างานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารสปส. เป็นองค์กรอิสระ ได้รับคำตอบว่า สปส.ยังไม่พร้อมอีกเช่นเคย
                ทางด้านนายบัณฑิต  แป้นวิเศษ ประธานเครือข่ายปฏิบัติเพื่อแรงงานข้ามชาติ หนึ่งในคณะที่ปรึกษา กมธ.วิฯ ฝ่ายแรงงาน กล่าวในที่สุดว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อธงของรัฐบาลคือการผลิตกฏหมายฉบับนี้ให้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรอย่างรวดเร็วเพื่อวางเป็นแนวทางในการหาเสียง กับประชาชน ดังนั้นคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)เตรียมนัดผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วนร่วมมือกันกำหนดท่าที และติดตามเคลื่อนไหวแสดงจุดยืน 6 ประเด็นปฏิรูประบบประกันสังคม เพื่อความเป็นธรรมต่อไป

รณรงค์ขับเคลื่อนร่าง พรบ ประกันสังคม ในวันที่ 24 มีนาคม 2554‏